top of page

ฤดูกาลจีน 24 ฤดู ‘เสี่ยวเสวี่ย’ (小雪)

angkart0


ฤดูกาลเสี่ยวเสวี่ย อากาศเย็นลงเรื่อยๆ โรคที่ควรระวังและป้องกันยังคงเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุมักจะเป็นหวัดง่ายในช่วงที่อากาศเย็น


#ฤดูกาลเสี่ยวเสวี่ย #小雪

เสี่ยว (小) แปลว่า เล็ก เสวี่ย (雪) แปลว่า หิมะ

แสดงถึงอากาศที่เย็นลงพร้อมกับสายฝนโปรยปราย แต่ไม่ได้หมายถึงมีหิมะตกตามชื่อ


เสี่ยวเสวี่ย ฤดูกาลที่ 20 ของ 24 ฤดูลักษณ์ จะเกิดขึ้นราววันที่ 22-23 เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ปีนี้ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน


มีคำกล่าวว่า ‘เสี่ยวเสวี่ยดองผัก ต้าเสวี่ยตากเนื้อ’

เมื่อถึงฤดูกาลเสี่ยวเสวี่ยชาวจีนจะเริ่มดองผัก นำเนื้อสัตว์มาแปรรูป ชาวประมงแถบทะเลตอนใต้จะเริ่มตากปลาแห้ง เพราะอากาศในช่วงนี้เย็นพอที่จะทำให้ของไม่เน่าเสีย

ในสมัยโบราณการรับประทานอาหารแปรรูปเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่ปัจจุบันนั้นแตกต่างออกไป การควบคุมปริมาณการกินอาหารแปรรูปนับเป็นเรื่องสำคัญกว่า เนื่องจากอาหารหมักดอง เนื้อสัตว์แปรรูปมีโซเดียมเยอะ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบบหลอดเลือดและสมอง รวมถึงคนที่มีโรคประจำตัวอย่างความดัน หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ การกินของแปรรูปมากเกินพอดี อาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินซีได้ด้วย


#กักเก็บชี่ปอด #บำรุงไต

เนื่องจากฤดูหนาวเป็นช่วงเวลาของไต ตามหลักธาตุทั้งห้า สีดำเป็นสีของไต เลือกกินอาหารที่มีสีดำในฤดูกาลนี้ เช่น เห็ดหูหนูดำ งาดำ ปลาไหล เพื่อช่วยรักษาความอุ่นให้แก่ร่างกาย

ฤดูกาลเสี่ยวเสวี่ย อากาศเย็นลงเรื่อยๆ โรคที่ควรระวังและป้องกันยังคงเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุมักจะเป็นหวัดง่ายในช่วงที่อากาศเย็น

ดูแลร่างกายให้อุ่นอยู่เสมอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินนอนเป็นเวลา ออกกำลังกายให้เหมาะสม รักษาบรรยากาศภายในห้องและที่อยู่อาศัยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก คือการป้องกันไข้หวัดเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย


กลางวันสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้นเรื่อยๆ

พลังงานหยางอยู่ในสภาวะเก็บซ่อน พลังงานหยินอยู่ในสภาวะแข็งแกร่ง

ใช้น้ำอุ่นล้างเท้า แช่เท้า หรือกดจุดนวดบริเวณฝ่าเท้าเป็นประจำทุกวันเพื่อการไหลเวียนของเลือดลมที่ดี

จุดที่แนะนำคือจุดไท่ซี (太溪/KI-3) จุดนี้เปรียบเสมือนสายธารใหญ่ของร่างกาย อยู่บนเส้นลมปราณไต จุดอยู่ระหว่างตาตุ่มด้านในกับเอ็นร้อยหวาย

สรรพคุณ: -บำรุงพลังงานของไต -ช่วยทำให้จิตใจสงบ -ช่วยทำให้บริเวณหลังล่างและเข่าแข็งแรง -ช่วยควบคุมการทำงานของมดลูก

เหมาะแก่คนเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ปวดเอว ปวดหลัง ปวดเมื่อยเข่า อ่อนเพลีย ความจำแย่ลง ขี้หลงขี้ลืม ปัสสาวะบ่อย เหงื่อออกตอนกลางคืนหรือเหงื่อออกฝ่ามือฝ่าเท้า เท้าเย็น ประจำเดือนมาไม่ปกติ (กะปริดกะปรอย มาน้อย หรือมากเกินไป) เป็นต้น




--------------------

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายล่วงหน้า •Line : @acuhouseclinic https://lin.ee/ZuohRAB •Facebook/Instagram : acuhouse_clinic •Tel. 084-284-5150 แอคคิว เฮาส์ คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน เลขที่ 616/5 โครงการเดอะ พาร์ที บาย อารียา ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร https://goo.gl/maps/zKzPJG8WMHPnjvVe7

Comments


-----------------------------------------------------------------------------------------------

  • Facebook
  • Twitter
  • @acuhouseclinic
  • Instagram
bottom of page