ในตำราหวงตี้เน่ยจิงกล่าวว่า《黄帝内经·素问·上古天真论》: “女子七七,任脉虚,太冲脉衰少,天癸竭,地道不通,故形坏而无子也…”
| เมื่อผู้หญิงอยู่ในช่วงอายุเจ็ดที่เจ็ด (49 ปี)
เส้นลมปราณเริ่น* พร่อง
เส้นลมปราณไท่ชง* เสื่อมลง
เทียนกุ่ย* เหือดแห้ง หมดระดู
ร่างกายจึงเสื่อมโทรมสืบพันธุ์ไม่ได้ |
ผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการมีประจำเดือน รังไข่ผลิตฮอร์โมน ‘เอสโทรเจน (Estrogen)’ และ ‘โปรเจสเตอโรน (Progesterone)’ ลดลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เรียกว่า ‘ภาวะวัยทอง’
ภาวะวัยทอง มีอาการแสดงออกหลากหลายเช่น รู้สึกร้อนวูบวาบ อ่อนเพลียง่าย อารมณ์แปรปรวน ความต้องการทางเพศลดลง นอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า และเหงื่อออกตอนกลางคืน
อาการเหล่านี้รักษาได้โดยการใช้ตำรับยาสมุนไพรจีน มีทั้งในรูปแบบยาแคปซูลสำเร็จรูป หรือสกัดผงชงดื่ม (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์จีน) ร่วมกับการฝังเข็ม เพื่อปรับสมดุลการไหลเวียนของเลือดและฮอร์โมน
นอกจากต้องรักษาอาการอย่างต่อเนื่องแล้ว การดูแลตัวเองเบื้องต้น ควบคู่กับการรักษาก็เป็นสิ่งจำเป็น
- เลือกรับประทานถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง นมพร่องมันเนยหรือนมไขมันต่ำแทนนมวัว ถั่วเหลืองประกอบด้วยไอโซฟลาโวน (isoflavones) ที่เข้มข้น ซึ่งเป็นเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogen) ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในมนุษย์ แต่มีคุณสมบัติด้อยกว่า
- หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม โกโก้ หรืองดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนและแทนนิน แต่ถ้าติดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟหรือชา ก็ให้เลือกชนิดที่สกัดคาเฟอีนออก (decaffeinated)
- เก็บช็อคโกแลตเอาไว้รับประทานทานในโอกาสพิเศษเท่านั้น
- เน้นรับประทานผัก ผลไม้ และถั่วเมล็ดให้หลากหลาย
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ลดเกลือลง ใช้ให้น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมของไขมัน น้ำตาล และฟอสเฟตปริมาณมาก
การดูแลตัวเองในภาวะวัยทองให้สมดุลทั้งร่างกาย อารมณ์ โภชนาการ นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์แล้ว ยังช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วย
————————
*เส้นลมปราณเริ่น (任脉) คือเส้นลมปราณมีจุดเริ่มต้นที่ท้องน้อย แล่นผ่านกึ่งกลางของร่างกาย แล้วไปสิ้นสุดที่เบ้าตาล่าง
*เส้นลมปราณไท่ชง (太冲脉) หมายถึง เส้นลมปราณไต (足少阴肾经) กับ เส้นลมปราณชง (冲脉) รวมกัน
*เทียนกุ่ย (天癸) คือสารจำเป็นของร่างกายและพลังชี่ ซึ่งกักเก็บอยู่ที่ไต ทำให้เกิดและส่งเสริมการทำงานของระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
————————
อ้างอิง:
-主编: 王庆其《内经选读》
-Oxford college learning nutritional therapy
--------------------
ติดต่อสอบถาม หรือ นัดหมายล่วงหน้า
•Line : @acuhouseclinic https://lin.ee/ZuohRAB
•Facebook/Instagram : acuhouse_clinic
•Tel. 084-284-5150
แอคคิว เฮาส์ คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน เลขที่ 616/5 โครงการเดอะ พาร์ที บาย อารียา ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร https://goo.gl/maps/zKzPJG8WMHPnjvVe7
Comments